วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การขายคืออะไร

การขาย คือ กระบวนการเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชื้อ และผู้ซื้อตัดสินใจซื้อด้วยความพึงพอใจ ประกอบด้วย
1. สินค้า -บริการ [ PRODUCTS ]
2. พนักงานขาย /นักขาย [ SALE ]
พนักงานขาย คือผู้ที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้ซื้อเห็นคุณค่า หรือประโยชน์ ที่จะได้รับจากการซื้อสิน ค้าหรือบริการแล้วตัดสินใจ ด้วยความพอใจ
3. กระบวนการและขั้นตอนการขาย
กิจกรรมทั้งมวลที่พนักงานขาย/นักขายทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในตัวพนักงานขายและเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ
จากการซื้อสินค้า/บริการ แล้วตัดสินใจซื้อด้วยความพึงพอใจมีคำกล่าวที่ว่า " ขายตัวก่อนขายสินค้า "
4 ผู้มุ่งหวัง [ PROSPECTS ]
ผู้มุ่งหวัง คือผู้ที่ผู้ขายตั้งใจที่จะเสนอขายสินค้าหรือบริการ ผู้มุ่งหวังเป็นผู้ที่ผู้ขายคาดว่าจะเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ผู้มุ่งหวังโดยทั่วไปจะมีลักษณะ ดังนี้
M = Money (มีเงินพอที่จะซื้อสินค้า )
A = Authority ( มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ )
N = Need ( มีความต้องการที่จะซื้อ )
5 ลูกค้า [ CUSTOMER ]
ลูกค้า คือ ผู้มุ่งหวังที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า /บริการ ก็จะเป็นลูกค้าของเรา ผู้ขายต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าครั้งแรกเป็นลูกค้าประจำ [ P ermanent Customer ]



นักขายสำคัญอย่างไร
1. ปัจจัยที่มิอิทธิพลต่อการขาย
- การโฆษณา
- การประชาสัมพันธ์
- การส่งเสริมการขาย
- การขายโดยพนักงาน
2. คุณลักษณะที่สำคัญของนักขาย
2.1 มีทัศนคติที่ดีต่อ งานขาย, สินค้า , ลูกค้า
2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ บริษัท , สินค้าที่ขาย , คุแข่ง ( บริษัท - สินค้า )
2.3 มีความสามารถในการขายตามขั้นตอนของการขาย การเปิดการขาย การเสนอขาย การขจัดข้อโต้แย้ง การ ปิดการขาย
2.4 ทำงานอย่างทุ่มเท
2.5 มีความกระตื่อรือร้น
2.6 ควบคุมจิตใจ ,อารมณ์ได้
2.7 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.8 มีบุคลิกภาพที่คนอยากเข้าหา
2.9 มีสุขภาพกายและจิตดี
2.10 มีอุปนิสัยที่คนชอบ

ผู้มุ่งหวัง - ลูกค้าคือใคร
คำกล่าวที่ว่า " ลูกค้าคือคนสำคัญ " " ลูกค้าคือพระเจ้า " ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า " Customer Focus " หรือ "Customer is the King" ยังคงเป็นคำที่ต้องอยู่ในใจนักขายทุกคนการขายจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่า พนักงานขายได้ตอบสนองความคาดหวังหรือ ความต้องการของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด ถ้านักขายสามารถตอบสองความต้องการของลูกค้าได้ ลูกค้าก็จะตัดสินใจซื้อ การขายก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการขายตามขั้นตอนการขาย นักขายจึงต้องศึกษาความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าก่อน

Presentation คืออะไร

PRESENTATION คืออะไร ?
PRESENTATION คือ : การถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด ให้ผู้ฟังเข้าใจภายในเวลาจำกัดความหมายของการนำเสนอในแง่ต่าง ๆ
1.คือ การขายความคิด
2.คือ การลดความแตกต่างความเข้าใจของผู้พูดกับผู้ฟัง
3.คือ การเอาชนะข้อโต้แย้งจากผู้ฟัง
4.คือ เพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ฟังการนำเสนอที่จะบรรลุเป้าหมายต้องมีทั้งCONTENT : เนื้อหา / เนื้อ


เรื่อง PROCESS : วิธีการ / ขบวนการในการสื่อหรือการถ่ายทอดสิ่งที่ต้องควบคุมในการนำเสนอ

1. ตัวผู้พูดเอง (BODY CONTROL)
- แสดงความมั่นใจ
- การแต่งกายเหมาะสม
- ลดความตื่นเต้น / ประหม่า
- การวางตัวและท่าทาง


2. เนื้อเรื่อง (MATERIAL CONTROL)
- น่าสนใจ
- มีข้อมูลสนับสนุนดูน่าเชื่อถือ
- โครงเรื่องดี มีลำดับขั้นตอนเข้าใจง่าย
- เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง


3. ตัวผู้ฟัง (AUDIENCE CONTROL)
- ดึงให้สนใจฟังตลอดเวลา
- ทำให้เห็นด้วย / คล้อยตาม
- แก้ปัญหาและท่าทีขัดแย้งของผู้ฟัง

การออกแบบคืออะไร

การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด แก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่าง น่าพอใจ ตอนนี้ประเด็นอยู่ที่ว่า ความน่าพอใจ จะขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ดังนี้

1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน

2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ถ้าเป็นงานกราฟฟิก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ดังนั้นจึงเรียกว่า เป็นงานออกแบบประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้

3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบตอนสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อยหรือไม่ให้ความสำคัญเลย ก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้
มัลติมีเดียหรือสื่อผสม หมายถึง การนำสื่อหลายชนิดมาใช้งานร่วมกันโดยผ่านคอมพิวเตอร์ แสดงผลทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง กราฟิกส์ ภาพเคลื่อนไหว สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ off-line และแบบ on-line

Drama คืออะไร

Drama หมายถึง บทละคร บทโทรทัศน์ บทวิทยุ หรือละครชีวิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบเสริม
เพื่อเติมเต็มงานด้านกราฟฟิคที่ คำนึงถึงพื้นฐานความเป็นไปได้
ความเป็นจริงประกอบกับเรื่องของจินตนาการซึ่งไร้ขีดจำกัดในงานกราฟฟิค เช่น ในภาพยนต์
จะขาดไม่ได้ในเรื่องของความเป็นชีวิต ไม่ว่าจะมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคทั้งเรื่อง
ก็จำเป็นต้องสอดแทรกความเป็นมนุษย์ลงไปในงานเพราะ งานที่่ออกมานั้นทำเพื่อให้คนได้ดู
เมื่อดูแล้วจึงจำเป็นต้องเกิดความเข้าใจ ดังนั้นผูัสร้างสรรค์งานด้านกราฟฟิค
ต้องเข้าใจในชีวิตจึงจะสามารถทำให้งานนั้นออกมาดีอย่างไร้ที่ติ

Erotic คืออะไร

EROTIC คือเรื่องที่เกี่ยวกับการเร่งเร้า แรงปรารถนา ความหลงใหล ใคร่รัก ภาษาอังกฤษเรียกว่า sexual love and
desire รากศัพท์เดิมของ อีโรติก มาจากคำว่า Eros ซึ่งดั้งเดิมมีความหมายในทางบวก หมายถึง เทพอีรอส
ที่งามพร้อม แต่ต่อมาเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นชั่วร้ายจนกลายเป็นปีศาจ ปัจจุบันเรามักจะพูดถึง อีโรติก
ในแง่การแสดงออกถึง ความปรารถนาทางเพศ ที่แสดงออกทาง ศิลปะ บทกลอน ความรัก เรื่องลึกลับ และ
จิตวิญญาณ คำว่า อีโรติก จึงไม่ได้หมายถึงความโป๊เปลือยเพียงอย่างเดียว
50% EROTIC เป็นคำจำกัดความของงานถ่ายภาพแนวแฟชั่นกึ่งอิโรติกที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
เป็นแนวการถ่ายภาพแฟชั่นที่นำเอากลิ่นไอของความเป็นอิโรติกเข้ามารวม ไม่เน้นความโป๊เปลือย
แต่ใช้การแสดงออกทางด้านอารมณ์มาแทน
ดึงความลึกลับเข้ามาใช้รวมถึงการใช้แสงเพื่อเพิ่มบรรยากาศของภาพให้ดูลึกลับเร่าร้อน
หรือการเลือกใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและการจัดฉากที่ทำให้เพิ่มอุณหภูมิของภาพให้ร้อนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น Erotic จึงเป็นองค์ประกอบทางด้านความคิด ที่ใช้ในการผสมผสานงานทางด้านกราฟฟิคได้เป็นอย่างดี

Action คืออะไร

Action หมายถึง การกระทำ การเคลื่อนไหว เหตุการณ์ในนิยายหรือ ภาพยนต์ อากัปกิริยา ท่าทาง
ในการเคลื่อนไหวของคนต้องอาศัยระบบต่างๆดังนี้
-ระบบโครงกระดูกมีลักษณะเป็นข้อต่อและเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ
-ระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งทำงานเป็นแบบแอนตาโกลิซึม (antagonism)
-ระบบประสาท ช่วยส่งกระแสความรู้สึกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวตามทิศทางที่ต้องการ
ระบบโครงกระดูก กระดูกมีลักษณะเป็นข้อต่อและมีกล้ามเนื้อมายึดเกาะโดยอาศัยเอ็นช่วยยึดมี 2 ชนิด คือ
1. เอ็นที่ยึดกระดูกกับกระดูกเรียกว่า ลิกาเมนต์ (ligament)
2. เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อเรียกว่า เทนดอน (tendon)
การเคลื่อนไหวของมนุษย์ หรือ สิ่งของต่าง ไม่ว่าจะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต
ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อการสร้างงานกราฟฟิค ให้มีความสมจริง
ทั้งด้านแสงและเงาตกกระทบ บนวัตถุ รวมถึงการหมุนของอวัยวะต่างๆ ทิศทางลม ทิศทางการเคลื่อนที่
เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างงานด้วย Computer Graphic

Comedy คืออะไร

Comedy หมายถึง คามตลกขบขัน ความขบขัน ละครตลก ละครชวนหัว เรื่องตลก หัสนาฏกรรม
ละครตลก หรือ Comedy มีมาตั้งแต่สมัยกรีก และได้พัฒนารูปแบบการนำเสนอเรื่อยมา จนปัจจุบัน
นักการละครได้แบ่งละครตลกเอาไว้เป็นประเภท ดังนี้ Romantic Comedy สำหรับละครตลกประเภทนี้
เรามักจะได้ยินกันอยู่เสมอในละครหรื อหนังสมัยใหม่ ละครแบบนี้จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ
ความรักระหว่างพระเอกกับนางเอก อาจจะมีอุปสรรคขัดขวางต่างๆ ซึ่งบางครั้งก็เป็นลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน หรือ
ความขัดแย้งระหว่างครอบครัว แต่ในที่สุด ก็มักจะจบลงด้วยความสุขสมหวังเสมอเชคสเปียร์ เขียนละครตลกแบบ
Romantic Comedy ไว้หลายเรื่อง เช่น The Merchant of Venice หรือ As You Like It เป็นต้น Comedy Of
Manners เป็นละครที่มีเนื้อหาที่ล้อเลียนวงสังคมชั้นสูง ซึ่งจะมีกิริยาท่าทางแบบแผนในการปฎิบัติที่ดัดจริต
ผิดไปจากมนุษย์สามัญไพร่พื้นธรรมดาๆ ดังนั้น ละครตลกประเภทนี้จึงนำกิริยาท่าทาง หรือ manners
เหล่านี้มาล้อเลียน ดังนั้นภาษาที่ใช้ก็มักจะเป็นภาษาที่สละสลวยแบบพิสดาร
คือจงใจจะล้อเลียนภาษาท่าทางของพวกผู้ดีนี่เองDon Juan ละครตลก โดย Moliere
นักเขียนละครตลกที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 โพรดักชั่นนี้ เป็นของคณะละคร The Comedie Francaise
ซึ่งใช้การออกแบบฉากแบบสมัยใหม่Situation Comedy แปลตามตัวก็คือ ตลกสถานการณ์ คือ
สถานการณ์ที่ไม่ปรกติที่เกิดขึ้นโดยที่ตัวละครไม่คาดฝัน ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆที่ตลกขบขันขึ้นต่างๆนานา
Comedy of Ideas ในละครแบบนี้ ผู้เขียนบทจะมีจุดประงสงค์ที่แฝงเร้นอยู่ในบทละครแล้วว่า ต้องการให้ผู้ชมคิดอะไร
และนำความคิดหลักนี้มาขยายให้เป็นเรื่องตลก เพื่อให้ผู้ชมหัวเราะ และในที่สุด เมื่อละครจบลงแล้ว
ก็จะได้รับความคิดที่ผู้เขียนบทสอดใส่ไว้ในละคร นักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงสำหรับละครประเภทนี้ก็เช่น Bernard
Shaw เป็นต้น
Satiric Comedy ละครตลกประเภทเสียดสี ผู้เชียนบทละครประเภทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเสียดสีเรื่องต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เรื่องความเป็นไปในสังคม หรือเรื่องข้อบกพร่องต่างๆของมนุษย์ นำมาล้อเลียนเสียดสี เพื่
อให้เกิดความตลกขบขัน ภาษาที่ใช้ก็จะเป็นแบบเสียดสี
Slapstick Comedy ละครตลกประเภทใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ตลกขบขันประกอบกับภาษาที่ทำให้ ผู้ชมหัวเราะ
เช่น วิ่งไล่ตีหัว แอบเข้าไปซ่อนในตุ่ม เป็นต้น
Tragicomedy เป็นละครที่นำลักษณะของ Tragedy และ Comedy มาผสมกัน
นักเขียนบทละครประเภทนี้พยายามที่จะเชื่อมช่องว่างระหว่างละครสองแบบนี้
ทั้งนี้โดยการซ่อนความคิดหลักที่ซีเรียสไว้ในสถานการณ์ที่ขบขันต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่อง และในที่สุด
เรื่องราวก็จะจบลงด้วยความสุขดังเช่นละครตลกทั่วไป ละครประเภทนี้มีผู้สรุปไว้ว่า คือ
"ละครโศกนาฎกรรมที่จบลงด้วยความสุข" Dark Comedy คล้ายคลึงกับ Tragicomedy คือ ดำเนินเรื่องแบบละครตลก
แต่ต่างกันตรงที่ตอนจบของเรื่อง ที่มักจะจบลงด้วยความไม่สมหวัง หรือเป็นแบบที่มีผู้สรุปว่า
"ละครตลกที่จบลงแบบโศกนาฎกรรม" Farce บางตำราถือว่า เป็นละครตลกประเภทต่ำสุด
และก็มักจะแยกออกไปจากคอเมดี้ เนื่องจากความขบขันที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการใช้ท่าทางอย่างเดียว ใกล้เคียงกับ
slapstick comedy แต่ต่างกันตรงที่ farce จะไม่มีเหตุผล หรือเป็นเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อ มีเนื้อเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่ใช้
movement ที่รวดเร็วตึงตังเป็นการทำให้ผู้ชมขบขัน นักแสดงละครโชว์ ตลกของไทยก็มักจะแสดงในลักษณะ farce
และนักแสดงที่มีชื่อเสียงก้องโลกอีกคนหนึ่ง คือ ชาร์ลี แชบปลิ้น ก็เป็นนักแสดงในรูปแบบของ farce เช่นกัน
ละครแบบ farce เรื่อง Hotel Paradiso โดย George Feydeau ไม่ว่าจะเป็นละครตลกในรูปแบบไหน
แต่จุดประสงค์ของละครตลกก็เหมือนกัน คือ มองข้อบกพร่องต่างๆของมนุษย์ด้วยความขบขันเพื่อให้ผู้ชมระลึกในที่สุด
ว่า ในโลกเรานี้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ไม่สมบูรณ์ทั้งนั้น

Imagin คืออะไร

Imagin หรือ Imagunation หมายถึง จินตนาการ การนึกเอาเอง มโนภาพ เจ้าความคิด วางแผน คาดการณ์
จินตนาการ หรือ การสร้างภาพในจิตใจ เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับ การสร้างสรรค์ผลงานทางด้าน กราฟฟิค
จะเห็นได้จาก ภาพยนต์ ต่างๆในปัจจุบัน เกือบทั้งหมด สร้างขึ้นด้วย Computer Graphic
ดังนั้นการที่สร้างงานประเภทนี้จำเป็นต้องใช้คนที่มีจินตนาการ
ภาพที่ถูกสร้างขึ้นในจิตใจนั้น มีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตมนุษย์
โดยภาพที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในจิตใจนั้นมีความแตกต่างกัน หลากหลายไปตามความเข้าใจ
และมองเห็นได้ของแต่ละคน

ภาพที่ถูกสร้างขึ้นในจิตใจนั้น ผู้เขียนได้แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 เป็นภาพเพ้อฝัน อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะไม่จริง เช่น วาดภาพว่า มีมนุษย์เหาะได้จริงๆ
อย่างซุปเปอร์แมน ซึ่่งมีคำตอบว่า ภาพอย่างนี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ ในความเป็นจริง แต่เนื่องจากการใช้จินตนาการ
ในการสร้างงาน กราฟฟิค สามารถเนรมิตร ให้มนุษย์บินได้จริง

แบบที่ 2 เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดยการมองไปข้างหน้า หรือ ในอนาคต ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อาจจะนึกขึ้นมาลอยๆ
หรือนำเหตุผลประกอบใดๆ มาเป็นมูลฐานของการสร้างภาพก็ได้ เช่นผู้บริหารบ้านเมือง
จะมองไปข้างหน้าเห็นความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศได้ถ้วนหน้ากัน
ซึ่งเป็นความปรารถนาที่เป็นพื้นฐานของการกำหนดนโยบายของการบริหารประเทศ อย่างหนึ่ง
ภาพที่มองเห็นในอนาคตนั้น อาจจะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงก็ได้ เวลาจะนำคำตอบมาให้ ภาพแบบนี้
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Vision ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า วิสัยทัศน์

แบบที่ ๓ เป็นภาพที่ถูกวาดตามหลักของความเป็นจริง เกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน
ถ้าได้มีการปฏิบัติที่เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เช่นการชิปลูกกอล์ฟขึ้นกรีนให้ใกล้ธงมากที่สุด
ย่อมเกิดขึ้นได้ถ้านักกอล์ฟทำได้ตามแบบฝึก แต่โดยที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จึงขอกล่าวถึงภาพที่นักโปรแกรมจะต้องวาดภาพขึ้นในจิตใจให้ได้ว่า จะทำอย่างไร
หรือจะใช้คำสั่งอะไรบ้างของโปรแกรมมาใช้ คอมพิวเตอร์ จึงจะทำงานให้ได้อย่างที่ต้องการ
ภาพแบบนี้มีผลลัพธ์แน่นอน หากปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบของวิธีการเขียนโปรแกรม ภาพแบบนี้
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Logic ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ตรรกะ
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีบทสรุป เป็นสาระน่ารู้บทหนึ่ง ที่ผู้เขียน
นำมาแทรกบทความที่เขียนโดยการแปลจากแบบเรียนภาษาจีนที่นำเสนอต่อเนื่องกันมา ให้เป็นเรื่องอื่น ๆ บ้าง

Intelligent คืออะไร

Intelligent หมายถึง ฉลาด มีหัวคิด มีเชาว์ปัญญา ความมีสติปัญญา มีไหวพริบดี มีความเข้าใจหรือความรู้ดี
Intelligent ในทาง Computer Graphic นั่นก็คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสร้างงาน Graphic
สืบเนี่ยงจากสมอง ซึ่งต้องได้รับการพัฒนา เพื่อที่จะนำมาคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ผลงานทางด้านกราฟฟิคดีไซน์
Howard Gardner (1983) เป็นผู้บุกเบิกการนำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “ความฉลาด หรือ สติปัญญา”
(Intelliget) ของมนุษย์ โดยสังคมอดีตมักเชื่อว่า ความฉลาดหรือสติปัญญาของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
ความฉลาดทางการคิดหาเหตุผลเชิงตรรกะกับความฉลาดที่เป็นความสามารถทางภาษา แต่จากผลการวิจัยต่างๆ
ที่พยายามจะหาคำตอบซึ่งสามารถพยากรณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่บุคคลเรียนรู้จาก
โรงเรียนกับความสำเร็จในอาชีพและการใช้ชีวิตส่วนตัวในสังคมแล้ว Gardner
พบว่ายังมีความฉลาดด้านการเคลื่นไหวร่างกาย (Bodily - kinesthetic Intelligent)
ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spetial Intelligent)
ความฉลาดทางการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligent)
ความฉลาดด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligent)
และความฉลาดด้านธรรมชาติ (Natural Intelligent)
โดย Gardner ได้รวมเรียกความฉลาดหรือสติปัญญาเหล่านี้ว่า “ทฤษฎีพหุปัญญา” (Multiple Intelligent Theory)

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Animation คืออะไร

Animation คืออะไร?

Animation เกิดขึ้นจากการแสดงภาพอย่างเร็ว ของชุดภาพนิ่งแบบสองมิติ(2D) หรือ เกิดจากการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ ที่เราอยากให้เคลื่อนที่ โดยใช้หลักภาพลวงตา ให้ดูเหมือนว่าภาพนิ่งเหล่านั้น มีการเคลื่อนไหว จากหลักการมองเห็นภาพติดตาของคนเรานั่นเองครับ โดย Animation เกิดจากหลายองค์ประกอบรวมตัวกัน โดยหนึ่งในหัวใจของ Animation นั้น คือการ animate

การ animate แปลกันอย่างตรงตัว ก็คือการเคลื่อนไหว ให้ชีวิต กับสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า ภาพ Still / ภาพนิ่ง ดังนั้น เหล่า Animator ก็คือผู้ให้ชีวิตนั่นเอง

Animation นั้น มีด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้ ขอกล่าวถึง3ประเภทที่พบเห็นกันทั่วไป ได้แก่

1. Traditional Animation / Hand Drawing Animation / 2D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่นสมัยแรกเริ่ม มักจะใช้การวาดด้วยมือ
งานประเภทนี้ พบเห็นได้ทั่วไป ในการทำ Animation ยุคแรกๆ โดยใช้เทคนิคการวาดด้วยมือ ทีละแผ่น แล้วใช้วิธี Flip เพื่อตรวจดูท่าทางของตัวละครที่เราได้ทำการ animate ไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า In Between (IB)

โดยทั่วไปแล้ว ในงาน Animation แบบนี้ ถ้าเป็นงาน Animation จากฝั่งตะวันตก หรือ เป็นหนังโรง จะกำหนดให้ 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม แต่ถ้าเป็นพวกซีรี่ย์การ์ตูนญี่ปุ่น จะกำหนดไว้ที่ 1 วินาที ใช้รูป 12 เฟรม หรือ อาจมากกว่านั้น

2. Stop-motion หรือ Clay Animation : งานแอนิเมชั่นประเภทนี้ animator จะต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับโมเดล และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ
การทำ Stop Motion ถือเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะ ต้องแม่นในเรื่องของ Timing และ Pose มากๆ แม้การทำจะไม่ต้องอาศัยการวาดรูปเป็นหลัก แต่ก็ต้องทำ IB เองทั้งหมดด้วยมือ การทำ IB ในงาน Animation ประเภทนี้ ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวนล่วงหน้า เพราะ ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการ Flip แล้วก็ตาม ( เช่น โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยในการ Capture รูป แล้ว Play ดูได้ทันที ) แต่การจัดแสง และการควบคุมความต่อเนื่องระหว่างเฟรม ต้องอาศัยความรอบคอบ และความอดทนสูงมาก บางทีทำกันหลายวันหลายคืนไม่ได้พักเลยก็มี ดังนั้น Animator ของงานประเภทนี้ นอกจากจะต้องมีความชำนาญแล้ว ควรจะมีสุขภาพแข็งแรงด้วยก็ดีนะครับ

3. Computer Animation / 2D Animation on computer / 3D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่น ที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสะดวกในการแก้ไข และแสดงผล จึงเป็นที่นิยมกันมาก
Animator ในงานประเภทนี้ จึงมีเกิดขึ้นมาในยุคปัจจุบันอย่างมากมาย พร้อมด้วยความต้องการ ของวงการบันเทิงในยุคนี้ ที่เน้นการทำ CG Animation มากขึ้น ดูได้จากเมืองไทย ที่มีสถาบันสอนการทำ Animation เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ Studio ที่ทำงาน Animation ในบ้านเราก็มีมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า งานต่างๆในวงการบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา การ์ตูนซีรี่ย์ ต่างๆ ล้วนล้วนแต่ มีงาน CG Animatoin แฝงอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า เมืองไทยตอนนี้ มีความตื่นตัวในกระแส Animation เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

3D Studio MAX คืออะไร

3D Studio MAX คืออะไร?

โปรแกรม 3D Studio MAX เป็น Software ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานสร้างภาพด้วยองค์ประกอบ 3 มิติ ในแบบที่เรียกว่า Photo Realistic ซึ่งจะได้วัตถุที่มีความคล้ายคลึงหรือมีความเหมือนจริง โดยผู้ใช้โปรแกรมสามารถสร้างโครงวัตถุขึ้นมา แล้วกำหนดลักษณะพื้นผิวต่าง ๆ ให้กับองค์ประกอบวัตถุที่สร้างขึ้นมา

ความเป็นมา
ทำไมถึง 3D Studio MAX
เมื่อกล่าวถึงโปรแกรม 3D อาจจะมีมากมายหลายโปรแกรม บางคนอาจจะชื่นชอบการ Render ชั้นเยี่ยมของ LightWave ถึงแม้มันจะมี User Interface ที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็เหมาะแก่การสร้าง Effect ในภาพยนต์ หรือใน Title ใน VDO. หรือโปรแกรม SoftImage แต่อาจจะใช้ยากซักหน่อย ส่วน Bryce ออกมาหลายเวอร์ชั่นแล้ว เหมาะสำหรับใช้สร้างภาพทิวทัศน์ และ Cinema4D นับเป็นจ้าวแห่งความเร็ว แต่ก็สู้โปรแกรม Maya ไม่ได้ในเรื่องของการสร้างภาพการ์ตูนในลักษณะ Animation
แต่ทว่าทำไม 3D Studio MAX จึงได้รับความนิยมสูงกว่าโปรแกรมอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะว่าเพราะการปรับใช้งานกับภาพวัตถุต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพดี พร้อม plug-ins มากมายที่ถูกสร้างเพื่อ 3D Studio MAX แถมยังมีความยืดหยุ่นสูง หมายความว่า 3D Studio MAX สามารถนำจินตนาการ จากมันสมอง มาทำเป็น Model อะไรก็ได้ ไม่จำกัด แต่โดยทั่วไปแล้ว 3D Studio MAX นับเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งการสร้างเกมส์ , สร้างหนัง , TV , งาน Animation , หรือแม้แต่งานด้านออกแบบสถาปัตยกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย

โปรแกรม Maya คืออะไร

ในปี 1993 นักพัฒนาโปรแกรมของ Alias Research ได้มีการรวมกลุ่มเล็ก ๆ ขึ้นมาเพื่อวางแผนสำหรับซอฟต์แวร์ 3 มิติตัวใหม่ พวกเขาไม่คิดเลยว่าสิ่งที่พวกเขาฝันจะใช้เวลาเกือบถึง 5 ปีกว่าถึงจะเสร็จสมบูรณ์ ในช่วงนั้นแผนงานก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ทีมพัฒนามีการขยายเพิ่มจำนวนคนมากขึ้นและแม้กระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Alias Research เป็น AliasWavefront ในปี 1995 เมื่อมีการรวมกิจการกับบริษัท Wavefront Technologies ซึ่งเป็นบริษัทผู้บุกเบิกในวงการซอฟต์แวร์ 3 มิติเช่นเดียวกัน.

ในปี 1998 ทีมพัฒนาของ AliasWavefront ได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ Maya สำหรับงานขึ้นโมเดล 3มิติและแอนิเมชั่นสำหรับตลาดวงการบันเทิงซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่ PowerAnimator ซึ่งเคยประสบความสำเร็จอย่างสูงมาก่อน การเปิดตัวครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นช่วงที่สำคัญของบริษัทแต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมบันเทิงอีกด้วย ด้วยการใช้งานที่มีความยึดหยุ่นสูงและสามารถขยายเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้ Maya เป็นเครื่องมือที่นักแอนิเมชั่นและผู้ชำนาญทางเทคนิคพิเศษสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่าแต่เดิมที่เคยถูกจำกัดความสามารถไว้

Alias Research Inc. และ Wavefront ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1983 และ 1984 ตามลำดับ ทั้ง 2 บริษัทเป็นผู้บุกเบิกหรือริเริ่มการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในวงการผลิตภาพยนตร์ในยุคแรก ซอฟต์แวร์ของบริษัท Alias Research ถูกนำไปใช้ในการสร้างเทคนิคขั้นพื้นฐานเช่นการสร้าง Watery Pod Creature ในหนังเรื่อง The Abyss

เมื่อปี 1989 และการสร้างหุ่นยนต์นักฆ่าจากโครเมียมเหลวในหนังเรื่อง Terminator 2: Judgement Day ในปี 1990 สำหรับซอฟต์แวร์ Alias PowerAnimator ทางบริษัท Industrial Light & Magic ได้นำไปใช้ในการสร้างไดโนเสาร์ที่น่าทึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ในปี 1993

เป้าหมายในการพัฒนา Maya ของบริษัทคือการนำประสบการณ์จากความสำเร็จเหล่านั้นมาสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ที่สามารถนำแอนิเมชั่น 3มิติไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

ด้วยการทำงานใกล้ชิดกับผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ Disney, Square Picture, Dream Quest Image ทีมพัฒนาสามารถรู้ถึงความต้องการตั้งแต่กระบวนการแรกเพื่อนำไปสร้างระบบที่ไม่เพียงแต่มีความสามารถสูงและเร็วแต่ยังสามารถถูกแก้ไขโดยผู้ใช้งานและเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมได้โดยโปรแกรมเมอร์หรือผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค เขาต้องการซอฟต์แวร์ที่เป็นเสาหลักในกระบวนการผลิตของการสร้างคาแรกเตอร์แอนิเมชั่นและเทคนิคพิเศษสำหรับภาพยนตร์
เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายนี้ บริษัทจำเป็นต้องพิจารณาถึงโครงสร้างที่สามารถตอบสนองกับความต้องการในอนาคต ด้วยโอกาสอันดีที่การออกแบบ Maya เริ่มต้นจากศูนย์ในตอนแรกทำให้ทีมพัฒนาสามารถสร้างการเชื่อมโยงระบบไปยังซอฟต์แวร์ส่วนต่างๆจนถึงรายละเอียดขั้นลึกที่สุด

สำหรับศิลปิน ทีมพัฒนาได้มีการพัฒนาการทำงานของ Maya ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการสร้างโปรแกรมที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างคล่องตัวและมีกระบวนการทำงานที่ปรับให้เหมาะสมกับงานเฉพาะด้าน Maya ทำให้ศิลปินสามารถควบคุมการทำงานได้มากกว่าในอดีตโดยการช่วยสร้างแอนิเมชั่นที่เสมือนจริงมากที่สุดจนแทบจะแยกไม่ออก

สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ทีมพัฒนาต้องออกแบบ Maya ให้สามารถแก้ไขและเพิ่มเติมระบบได้เพื่อตอบสนองความต้องการในการสร้างงานเฉพาะทาง ทีมพัฒนาต้องเจอความท้าทายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความยึดหยุ่นถึง 2 ระดับคือ 1. การออกแบบ Script ภายใน Maya เองที่เราเรียกว่า Maya Embedded Language (MEL) ซึ่งจะทำให้ผู้อำนวยการทางด้านเทคนิคสามารถแก้ไข User Interfaceและสร้างการควบคุมขั้นสูงได้ ส่วนควบคุมที่ถูกแก้ไขจะช่วยให้คาแรกเตอร์ถูกกำหนดได้ง่ายขึ้นและจะเน้นเฉพาะส่วนที่สำคัญ ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้การทำงานเร็วขึ้นและง่ายขึ้นอีกด้วย 2. ทีมพัฒนาต้องเตรียม API ไว้อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเพิ่มขีดความสามารถของ Maya ได้อีกจากการเขียนโปรแกรมเสริม

Version แรกของ Maya จะเน้นในส่วนของการสร้างคาแรกเตอร์แอนิเมชั่น, การขี้นโมเดล, rendering รวมทั้งความสามารถของ MEL ในขณะที่โปรเจคต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายอยู่แล้ว กลับต้องเพิ่มความซับซ้อนขึ้นไปอีกในปี 1995 เมื่อ SGI ได้เข้าซื้อกิจการของทาง Alias และ Wavefront แล้วรวมกิจการตั้งชื่อเป็น AliasWavefront การรวมกิจการครั้งนี้ทำให้บริษัทมีโอกาสรวมทีมที่มีความสามารถเข้าด้วยกันและยังเป็นการเพิ่มเทคโนโลยีให้ Maya อีกด้วย เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วย การจำลองปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ, การขี้นรูปด้วย Polygon, การกำหนดความเคลื่อนไหวและอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้ทำให้ Maya เวอร์ชั่น 1 เป็นซอฟต์แวร์ที่มีทั้งความสามารถในแนวกว้างและแนวลึกสมบูรณ์แบบกว่าที่ทีมงานได้ตั้งใจไว้แต่แรกเสียอีก

ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัททุ่มเทอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ได้รับการทดสอบในระดับเดียวกับงานจริงโดยมีการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นมากมาย โดย Chris Landreth ผู้ที่เคยใช้ PowerAnimator มาก่อนในการสร้างสรรค์ผลงานเรื่อง The End ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาภาพยนตร์การ์ตูนสั้นยอดเยี่ยมปี 1996 Chris Landreth ตกลงสร้างการ์ตูนเรื่องใหม่ชื่อ Bingo ด้วยซอฟต์แวร์ Maya และก็ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ดีอย่างล้นหลามเช่นกัน นอกจากนี้ Kevin ผู้สร้าง Ruby's Saloon ก็มีส่วนผลักดันให้ซอฟต์แวร์ถูกพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกในระดับที่อุตสาหกรรมต้องการ

นอกจากนี้บริษัทยังทำงานใกล้ชิดกับผู้นำในการผลิตแอนิเมชั่นและเทคนิคพิเศษอีกมากมายซึ่งไม่เพียงแต่ให้แนวความคิดใหม่ๆต่อทีมวิศวกรของ Maya แต่ยังช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

การเปิดตัวซอฟต์แวร์

ในปี 1998, ซอฟต์แวร์ได้เปิดตัวสู่ตลาดและได้รับการต้อนรับอย่างดีจากลูกค้าที่ทดสอบซอฟต์แวร์อยู่แล้วซึ่งล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง อาทิ Blue Sky/VIFX, Cinesite, Dream Pictures Studio, Dream Quest Images, GLC Productions, Kleiser-Walczak, Rhonda Graphics, Square, Santa Barbara Studios, และ Imagination Plantation.

ทั้ง ๆ ที่ได้มีการถกเถียงกันเป็นการภายในเกี่ยวกับชื่อของซอฟต์แวร์ตัวใหม่ แต่สุดท้ายบริษัทฯก็ตัดสินใจที่จะใช้ชื่อเดิมคือ Maya เพราะหลังจากพัฒนาซอฟต์แวร์มา 5 ปี ชื่อ Maya ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายและเป็นชื่อที่คุ้นเคยในวงการอุตสาหกรรม หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมของทีมพัฒนา Maya 2 คนที่มีรากฐานมาจาก India ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า Maya นอกจากจะแปลว่าภาพลวงตาหรือสิ่งมหัศจรรย์แล้วยังเป็นคำที่ใช้อธิบายตำนานที่กล่าวไว้ว่าสิ่งต่างๆที่เราเห็นในจักรวาลที่เป็นอิสระจากกันนั้นล้วนเป็นภาพลวงตา จริงๆแล้วสิ่งต่างๆทั้งหมดนั้นเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้มีอะไรมาแบ่งออกได้

ถ้านับว่าความสามารถของ Maya นี้อยู่ระหว่างรอยต่อของโลกแห่งความเป็นจริงและโลกแห่งจินตนาการแล้วดูเหมือนว่า ชื่อ Maya จะถูกตั้งขึ้นอย่างเหมาะสม นับแต่การเปิดตัว Maya ในปี 1998 Mayaถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในหนังเกือบทุกเรื่องที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ซึ่งจัดโดย Academy of Motion Picture Arts and Sciences สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในเดือนมีนาคม 2003 นี้ Maya จะเข้ารับรางวัลออสการ์ในสาขา Scientific and Technical Achievement สำหรับการมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์


ความสามารถของ Maya ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับงาน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย Kevin Tureski ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวิศวกรรม AliasWavefront กล่าว ความยืดหยุ่นสูงและความสามารถในการขยายเพิ่มเติมได้ เป็นหัวใจสำคัญของ Maya และอยู่ในทุกโครงสร้างของการทำงาน.

ในเดือนมีนาคม 2002 AliasWavefront ได้ก้าวไปอีกก้าวหนึ่งอย่างน่าทึ่งเพื่อที่จะเข้าถึงผู้ใช้งานมากขึ้นโดยการประกาศลดราคาซอฟต์แวร์มากกว่า 50 % ทำให้ปัจจุบัน Maya Complete ถูกตั้งราคาไว้เพียง 89,900 บาท ในขณะที่ Maya Unlimited ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสูงจะมีราคา 299,900 บาท สำหรับผู้ที่สนใจงาน 3 มิติทั่วไปสามารถ Download Maya Personal Learning Edition ฟรีได้จาก website ของ AliasWavefront ซึ่ง Maya PLE จะมีฟังค์ชั่นครบเหมือนใน Maya Complete ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ นับแต่มีการเปิดตัว PLE ในเดือนมกราคม 2002 ได้มีผู้ให้ความสนใจและดาวน์โหลดไปทดลองใช้มากกว่า 250,000 รายทั่วโลก

Maya เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ชั้นนำในโลกแอนิเมชั่น 3มิติ, การสร้างโมเดล, rendering สำหรับวงการภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, วิดีโอ, ตลอดจนการพัฒนาเกมส์ , เวปไซต์ 3มิติ และในวงการบันเทิงทั่วไป อย่างไรก็ตามทีมพัฒนาของ Maya ยังคงไม่หยุดยั้งที่จะตอบสนองความต้องการของสตูดิโอขนาดใหญ่หรือแม้กระทั่งทีมงานเล็กๆเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความสามารถสูงขี้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

โปรแกรม Flash คืออะไร

โปรแกรม Flash
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างอนิเมชั่นต่างๆ หรือใช้เปิดไฟล์วิดีโอ เปิดเพลง ผ่านเว็บไซต์ แม้แต่กระทั่งทำอัลบัมภาพผ่านเว็บไซต์ ในปัจจุบันโปรแกรม Flash นั้นได้รับความนิยมมากในการทำเว็บไซต์ กระทั้งมีบางเว็บไซต์ที่สร้างเว็บด้วย Flash เลยก็มี
แต่อย่างไรก็ดีการใช้ Flash นั้นก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือ
1.ถ้าเราใช้ทำอนิเมชั่น ไฟล์จะมีขนาดใหญ่แล้วแต่ความซับซ้อนของอนิเมชั่นนั้น ทำให้การแสดงหน้าเว็บเพจทำได้ช้าลง
2.Search engine ต่างๆไม่สามารถอ่านข้อความที่อยู่ในไฟล์ Flash ได้ ทำให้เราเสียโอกาศในการอยู่ในอันดับดีๆของ search engine
3.ถ้าผู้ใช้ไม่มี Flash player จะทำให้ไฟล์ Flash ของเรานั้นไม่แสดงผล ดังนั้นเราควรใช้งานโปรแกรม Flash ให้เหมาะสมไม่ควรใช้มากเกินไป

ข้อดีของ Flash มีอยู่มากมาย อย่างเช่น
1.ทำให้เว็บไซต์เราดูน่าสนใจมากขึ้น
2.สามารถเปิดไฟล์วิดิโอ หรือไฟล์เสียง ผ่านเว็บไซต์ได้
3.Flash นั้นปัจจุบันมีความสามารถมาก สามารถสร้างโปรแกรม หรือเกมดีๆ ได้เลย ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องจะทำให้เว็บของเรามีความสามารถมากขึ้น

ไฟล์ Flash นั้นจะมี 2 แบบคือ
1.swf เป็นไฟล์ที่เราสามารถใส่ได้ทุกที่ในเว็บเพจ
2.flv เป็นไฟล์ Flash video

การใช้งาน flash ร่วมกับ dreamweaver เมื่อเราแทรกไฟล์ flash หรือ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ลงใน dreamweaver โปรแกรมจะทำการเขียน JavaScript ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ชื่อว่า AC_RunActiveContent.js ไฟล์นี้จะอยุ่ใน folder ชื่อว่า scripts การใช้งานจริงหรือการอัพโหลดข้อมูลสู่ webserver นั้นห้ามลืมที่จะอัพโหลดไฟล์นี้เด็ดขาด มิฉนั้นไฟล์ Flash หรือ ไฟล์มัลติมีเดีย ต่างอาจไม่แสดงผลได้

โปรแกรม Illustrator คืออะไร






Illustrator
โปรแกรม Illustrator เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างภาพลายเส้นที่มีความคมชัดสูง งานภาพประกอบและงานกราฟิกแบบ 2 มิติต่างๆ เช่น การสร้างโลโก้สินค้า จนไปถึงการจัดเลย์เอาต์งานสิ่งพิมพ์ และมีเครื่องมึอที่ช่วยเหลือในงานเว็บไซต์อีกด้วย ภาพกราฟิกสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ 1.ภาพแบบพิกเซล (pixel) คือ ภาพที่เกิดจากจุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และเเต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาเเน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด)ที่เเตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ 2.ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ (vector graphics) คือ ภาพที่เกิดจากการกำหนดพิกัดและการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติ รวมทั้งมุมและระยะทาง ตามทฤษฎีเวกเตอร์ในทางคณิตศาสตร์ ในการก่อให้เกิดเป็น เส้น หรือรูปภาพ ข้อดีคือ ทำให้สามารถย่อขยายได้ โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง ข้อเสียคือภาพไม่เหมือนภาพจริงเป็นได้เพียงภาพวาด หรือใกล้เคียงภาพถ่ายเท่านั้น ข้อมูลภาพพวกนี้ได้เเก่ไฟล์สกุล eps, ai (adobe illustrator) เป็นต้น ** โปรแกรม Illustrator ทำงานแบบ vector graphics
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบ vector และแบบ pixel



ภาพจาก wikipedia.org









ภาพแบบ pixel









ภาพแบบ vector









Illustrator นั้นทำงานแบบ vector คือจะใช้ในงานการเขียนภาพ 2 มิติ เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มากในการทำเว็บไซต์ เพราะทำให้ผู้ใช้งานสามารถวาดรูปทึ่ต้องการขึ้นมาเองได้ แตกต่างจาก Photoshop ที่จะต้องนำภาพอื่นมาแต่งเพื่อให้เป็นรูปที่ต้องการ ถึงแม้ว่าปัจจุบัน Photoshop จะพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างภาพ vector ได้แต่ความสะดวกก็ยังไม่สู้การใช้งาน Illustrator อยู่ดี ซึ่งในการทำงานจริงๆแล้วจะต้องอาศัยเครื่องมือทั้ง Photoshop และ Illustrator ควบคู่กันจึงจะได้เป็นชิ้นงานขึ้นมา ซึ่งทั้ง 2 โปรแกรมก็ทำงานควบคู่กันได้ดี ส่วนหนึ่งก็มาจากว่าทั้ง 2 โปรมแกรมมาจากบริษัทเดียวกัน( Photoshop , Illustrator มาจากบริษัท Adobe)

Photoshop คืออะไร

ความเป็นมาของ Adobe Photoshop

ก่อนจะใช้งานโปรแกรมตกแต่งภาพตัวเก่ง ที่เรียกติดปากกันว่า โฟโต้ชอฟ นั้น เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโปรแกรมนี้กันสักนิด ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

Photoshopเป็นโปรแกรมของบริษัท Adobe (อ่านว่า อะ-โด-บี้) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมกราฟิครายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Illustrator, PageMaker และ Acrobat โปรแกรม Photoshop เวอร์ชั่นแรกนั้นเริ่มต้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จากเวอร์ชั่น 2, 2.5, 3, 4, 5, 5.5 เวอร์ชั่น 6, 7, CS จนถึงเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุปัน ที่เรียกกันว่าเวอร์ชั่น CS2 โดยได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับภาพกราฟิคขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เน้นใช้งานเพื่อการสร้างภาพสิ่งพิมพ์ ก็หันมาเน้นเกี่ยวกับการจัดการภาพกราฟิคที่ใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังได้สร้างโปรแกรม ImageReady ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวควบคู่มากับโปรแกรม Photoshop อีกด้วย เพื่อเพิ่มความสามารถเกี่ยวกับการทำภาพกราฟิคที่ใช้สำหรับการทำเว็บโดยเฉพาะปัจจุบันโปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สร้างเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างหรือตกแต่งภาพ เนื่องมาจากคุณสมบัติที่โดดเด่น ใช้งานง่าย มีเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย

Software คืออะไร

ซอฟท์แวร์ คืออะไร ?



ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
แบ่งชนิดของซอฟต์แวร์" type="#_x0000_t75">
ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
· ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
· ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
· ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
· ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

Hardware คือ

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต คีย์บอร์ด (Keyboard)ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เมาส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 2) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ 3) หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล 4) หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว 5) อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่ 1) คีย์บอร์ด (Keyboard) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator) 2) เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ -แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม -แบบใช้แสง (Optical mouse) -แบบไร้สาย (Wireless Mouse) 3) OCR (Optical Character Reader) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader) 4) OMR (Optical Mark Reader) อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ 5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ 6) สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่ แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน 7) ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ 8) จอยสติก (Joy Sticks) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย 9) จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน 10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก 11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้ 13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ 1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก 1)รอม (Read Only Memory - ROM)เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป 1)แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที 1)2) หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่ 1)- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย 1)- ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น ี 1)- ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD) ี 1)3) รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive 1)4) ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์ 1)5) Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์ 1)6) เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์ 1)7) การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 1)หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1)1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 1)2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon หน่วยแสดงผล (Output Unit) 1อุปกรณ์ส่งออก (Output device) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เมื่อซีพียูทำการประมวลผล 2 จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และ จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) 3 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดอตเมตทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) และ พล็อตเตอร์ (Plotter) 4 ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือการ เปรียบเทียบ

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สมาชิกในกลุ่ม


สมาชิกในกลุ่ม มี 5 คน
1 อาทิตย์ เจริญบุรี ID 50431421
2 วิศวะ ฉ่ำชื่น ID 50431420
3 อิศเรศ สุขเสนี ID 50431422
4 วีรพล ตันจินดา ID 50431411
5 ณัฐพล คูหาเสถียรพงศ์ ID 50431415